ไอเดียทำเกษตรสำหรับคนมีพื้นที่น้อย
|
ในปัจจุบันกระแสการปลูกผักกินเองในบ้านถือเป็นที่นิยมในสังคมไทย ซึ่งบางคนมีพื้นที่ในการปลูกเยอะก็สบายไป แต่สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย วันนี้ 108เทคโนฟาร์ม ขอแนะนำ ไอเดียปลูกผักสำหรับบ้านของคนที่มีพื้นที่น้อย โดยวิธีการจะเป็นอย่างไร ลองไปอ่านกันเลย ก่อนอื่นลองสำรวจบริเวณบ้านว่าเหลือพื้นที่ในส่วนใดบ้าง เช่น หน้าบ้าน หลังบ้าน ข้างงบ้าน ดาดฟ้า ระเบียง จากนั้นเขียนแผนผังทิศทางของแสงแดดที่จะส่องลงพื้นที่ สังเกตว่าในจุดนั้นได้รับแสงตอนไหนบ้าง แต่ล่ะจุดกี่ชั่วโมง หรือมีร่มเงาจากตัวบ้าน ต้นไม้ใหญ่ สิ่งเหล่ามีผลต่อการเจริญเติบโต ของพื้นที่ต้องการแสงในสภาพที่ต่างกัน เมื่อได้พื้นที่ที่ต้องการจึงจัดวางรูปแบบสวนที่เราจะลงมือทำ แต่ก่อนอื่นตอบคำถามตัวเองสองข้อนี้ก่อน -อยากปลูกผักจำนวนเท่าไร -จำนวนผักมากเท่าไหร่ที่เราสามารถดูแลไหว วางแผนง่ายๆ -หากเพิ่งเริ่มต้นหรือเป็นมือใหม่ลองปลูกจำนวนน้อยๆ ดูก่อนว่าเราสามารถดูแลได้แค่ไหนเพื่อให้มีกำลังใจในการดูแล เมื่อเชี่ยวชาญแล้วจึงค่อยเพิ่มจำนวนในภายหลัง -ส่วนฟาร์มเล็กๆในบ้านของเราจะประกอบด้วยอะไรบ้างให้ลิสต์เป็นรายการออกมา เขียนความต้องการทั้งหมดให้เต็มที่ แล้วค่อยมาตัดทอนตามกำลังความเหมาะสมก็ได้ -ฟาร์มในบ้านของเราไม่จำเป็น ต้องปลูกผักเท่านั้น แต่อาจเป็นไม้ผล ไก่ไข่หรือไก่เนื้อจำนวนไม่กี่ตัว ฟาร์มไส้เดือน ฟาร์มเห็ด ปลูกข้าว ฯลฯ ตามแต่ความชอบ -จากนั้นลองวางผังบริเวณว่าจะประกอบด้วยอะไรบ้าง เขียนแปลนลงไปในกระดาษคร่าวๆ -การลงมือทำไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ ให้เสร็จภายในวันหรือสองวัน ลองวางแผนดูว่าสัปดาห์นี้จะเริ่มจากอะไร เช่น ทำแปลงผักให้ได้ 2 แปลง หรือเพาะเมล็ดผักให้ได้ 3 ตะกร้า ค่อยๆทำไปทีละเล็กละน้อย หากรู้ว่าไม่มีเวลา อาจปลูกพืชที่ไม่ต้องดูแลมากก็ได้ เช่น ชะอม ตะไคร้ กะเพรา และกล้วย ที่คุณสามารถจะปลูกทิ้งได้โดยไม่ต้องห่วงรดน้ำทุกวัน หรือติดตั้งระบบให้น้ำอัตโนมัติเพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลา ลงมือทำ แปลงผัก จะยกแปลงขึ้นมาง่ายๆหรือทำขอบเขตโดยยกกระบะต้นไม้ขึ้นมา ใช้อิฐมอญ อิฐบล็อก หรืออิฐบล็อกประสานก็แข็งแรงดี หรือจะใช้วัสดุที่มีอยู่แล้ว เช่น ไม้ไผ่ แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เป็นตัวกัเนขอบเขดก็ได้ วิธีนี้ยังใช้กับบ้านที่ดินมีคุณภาพไม่ดี บนดาดฟ้า หรือบริเวณที่ปูพื้นแข็งไปแล้ว ตำแหน่งแปลงผักควรอยู่ในบริเวณที่ได้รับแสงเต็มที่ โดยเฉพาะผักรับประทานใบและผล เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว บวบหอม แตงกวา มะเขือ มะเขือเทศ ยกเว้นพวกผักสลัดที่ควรกางซาแรนช่วยพรางแสงบ้าง เพื่อไม่ให้ได้รับแดดโดยตรง ส่วนพื้นที่ร่มหรือได้รับแสงประมาณครึ่งวัน สามารถปลูกผักสลัด ผักชีฝรั่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา สะระแหน่ เป็นต้น วิธีการเลือกชนิดผักที่จะปลูกง่ายๆ มีข้อคิด 2 ข้อคือ ปลูกผักที่คุณหรือคนในบ้านชอบรับประทาน และปลูกผักที่ใช้เป็นประจำในครัว ปลูกลงภาชนะ บ้านที่ไม่มีพื้นดินหรือมีพื้นที่จำกัด ภาชนะเป็นทางเลือกที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นแบบตั้งหรือแบบแขวนผนัง ภาชนะที่ว่าไม่จำเป็นต้องใช้กระถางเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นหม้อ กะละมัง ตะกร้า กล่องนม ขวดน้ำ ขวดนม ภาชนะที่ปลูกผักควรจะลึกำอจะปลูกผักแต่ล่ะชนิดได้ หากเป็นผักกินใบไม่ควรลึกน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ส่วนผักกินผลควรลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร มุมปลูกเห็ด พื้นที่วางก้อนเห็ดจะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ มุมนั้นควรมีความชื้นสัมพัทธ์สูง แสงส่องเพียงเล็กน้อย ต้องไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทสะดวก อาจปลูกแบบแขวน วางในโอ่ง ชั้นวางของ ฯลฯ ตามแต่พื้นที่ที่มีอยู่ จำนวนก้อนเห็ดที่จะปลูกคิดคำนวนง่ายๆ ว่าหากบ้านมีสมาชิกหลายคน และต้องการรับประทานเห็ดทุกวัน ควรเลี้ยงสัก 50-100 ก้อน แต่หากไม่ต้องการมากขนาดนั้นสัก 20 ก้อนก็กำลังดี สามารถซื้อได้ตามแหล่งปลูกเห็ดใกล้บ้านคุณ โรงเรือนเลี้ยงไก่ ควรตั้งตามแนวยาวทิศตะวันออก-ตะวันตก หากตั้งขวางแสงอาทิตย์จะมีพื้นที่ให้ไก่หลบร้อนจากแสงแดดได้น้อย โดยอาจตั้งเฉียงออกจากแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 7 องศา จำนวนไก่ที่เลี้ยงคำนวนง่ายๆ คือพื้นที่ 1 ตารางเมตรเหมาะกับการเลี้ยงไก่ได้ไม่เกิน 4-5 ตัว ตัวเรือนควรมีความมั่นคงแข็งแรงมีชายคายื่นยาวป้องกันแสงแดด ลม ฝน มีช่องเปิดให้อากาศถ่ายเทดี น้ำไม่ขัง เข้าไปทำความสะอาดง่าย ควรห่างจากบ้านพักอาศัย และไม่อยู่เหนือทางลมเพื่อป้องกันปัญหากลิ่นมูลไก่ สำหรับคนเมืองส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไก่ไข่มากกว่าไข่เนื้อ เพราะสามารถเก็บไข่รับประทานได้ทุกวัน เป็นอย่างไรกันบ้างกับไอเดียการทำสวนสำหรับคนที่มีพื้นที่เพาะปลูกผักน้อย ซึ่งหากเกษตรกรคนไหนอยากให้เรานำความรู้หรือไอเดียสำหรับอะไรมานำเสนอ สามารถส่งเข้ามาบอกกับทางบริษัท 108เทคโนฟาร์ม ได้เลยนะจ๊ะ ............................................................................................. |
แสดงความคิดเห็น |
วันที่ประกาศ 2018-03-20 |